บทความ

ทำไมท้องฟ้าถึงมีสีต่างกันในเวลาต่างๆ

รูปภาพ
  ท้องฟ้าประกอบด้วยโมเลกุลและแก๊สมากมาย แสงอาทิตย์ที่มีสีขาวเมื่อเดินทางผ่านมายังโลก แสงจะเกิดการกระเจิงเมื่อปะทะกับโมเลกุลในอากาศ โดยโมเลกุลในอากาศมีขนาดที่ทำให้กระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่าสีอื่น ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีฟ้า ในตอนกลางวันแสงจากพระอาทิตย์ จะกระเจิงกับโมเลกุลของอากาศบนโลก และทำให้แสงสีฟ้ากระเจิงจนหมด ดังนั้นโลกด้านที่เป็นกลางวันจึงเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ตามรูป สีของท้องฟ้าจากแสงอาทิตย์ตามมุมการกระเจิง ทำไมท้องฟ้าตอนเย็นและเช้ามีสีส้มหรือแดง จากรูปข้างต้น เราจะเห็นว่าเมื่อแสงอาทิตย์เดินทางมากระเจิงกับโมเลกุลของอากาศบนโลก แสงสีฟ้าจะกระเจิงไปจนหมด ทำให้ด้านที่เป็นกลางวันของโลกมีสีฟ้า ขณะที่ด้านที่เป็นเวลาเช้าและเย็นจะเหลือแต่แสงสีส้มไปจนถึงสีแดงเหลืออยู่ จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าในยามเช้าและเย็นเป็นสีส้มหรือแดงนั่นเอง สีท้องฟ้าเกิดจากอะไร โดย NASA ท้องฟ้าที่ดาวอื่นเป็นสีอะไร ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสีของท้องฟ้าขึ้นอยู่กับโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของแต่ละดาว หากโมเลกุลของดาวกระเจิงแสงสีใดได้ดี ก็จะทำให้ท้องฟ้าของดาวเป็นสีนั้น ดังเช่น ดาวอังคารประกอบด้วยโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ และสนิมเหล...

ทำไมมุมภายในวงกลมเป็น 360 องศา

รูปภาพ
  จุดเริ่มของการที่มนุษย์ให้วงกลมมีมุมเป็น 360 องศา เริ่มจากการที่ชาวบาบิโลนใช้ระบบการนับตัวเลขฐาน 60 ซึ่งทำให้ชาวบาบิโลนสามารถคำนวณตัวเลขขนาดใหญ่ๆได้สะดวกโดยติดเศษไม่กี่จำนวน ต่อมาเมื่อชาวบาบิโลนรู้จักเรขาคณิต ชาวบาบิโลนพบว่าสามเหลี่ยมด้านเท่าจะมีมุมเท่ากันทุกด้าน พวกเขาจึงกำหนดให้มุมแต่ละมุมมีขนาดเป็นเลขที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาใช้คือ 60 และเมื่อชาวบาบิโลนรู้จักรูปเรขาคณิตอื่นอีก จนมาถึงวงกลมชาวบาบิโลนได้ใช้สมบัติของวงกลมสร้างคอร์ดที่มีขนาดเท่ากับรัศมิของวงกลมขึ้นและลากเส้นจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปยังปลายทั้งสองของคอร์ดที่ขนาดเท่ากับรัศมีของวงกลม เกิดเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าขึ้นมา ต่อมาเมื่อเราสร้างสามเหลี่ยมด้านเท่าจนรอบจุดศูนย์กลางทำให้เกิดสามเหลี่ยมด้านเท่า 6 รูป และมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมเท่ากับ 60 x 6 = 360 องศานั่นเอง วงกลมมีมุมรอบจุดศูนย์กลาง 360 องศา เราเชื่อว่าชาวบาบิโลนใช้วงกลมที่มีมุม 360 องศานี้มาตั้งแต่ 2400 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4500 ปีมาแล้ว

ทำไมต้องตั้งสาย(tune)กีต้าร์ด้วยคู่ 4 กับคู่ 3

รูปภาพ
  เครื่องสายในดนตรีสากลอื่นๆ เช่น ไวโอลิน เซลโล นั้นถูกต้้งสายด้วยขั้นคู่ 5 เพื่อให้การเล่นโซโล่ทำได้ง่าย ในขณะที่กีต้าร์นั้นเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นทั้งโซโล่ และคอร์ดไปพร้อมๆกัน หากเราจินตนาการว่าสานกีตาร์ตั้งด้วยคู่ 5 ทั้งหมด เราจะเล่นคอร์ดได้ยากมาก เพราะโน้ตแต่ละสายจะอยู่ห่างกันมากกว่า 2 เฟรท เช่นเดียวกับการที่กีต้าร์มีการตั้งสายด้วยคู่ 4 ก็จะทำให้เสียงห่างกันตั้งแต่ 1 เฟรทขึ้นไป หากเราตั้งสายให้เป็นคู่ 4 ทั้งหมด เราจะได้โน้ตแต่ละสายเป็น EADGCF ซึงเราจะพบว่า สาย 6 กับสาย 1 เป็นขั้นคู่ 2 ไมเนอร์ ซึ่งให้เสียงที่กัดกันมาก การเล่นคอร์ดที่มีสองสายนี้จึงให้เสียงที่ไม่ไพเราะ และเราจะกดคอร์ดทาบไม่ได้เลย การตั้งสายด้วยคู่ 4 และคู่ 3 ในสายที่ 2 ตามด้วยคู่ 4 ในสายที่ 1 การตั้งสายเช่นนี้ทำให้กีตาร์มีโน้ตจากสาย 6 ไปสาย 1 เป็น EADGBE ซึ่งเราจะพบว่าทำให้การกดคอร์ดทำได้ง่ายในเกือบทุกชนิดคอร์ด และการเล่นคอร์ดทาบสามารถเป็นไปได้ นอกจากนี้การตั้งสายกีต้าร์แบบปัจจุบันยังเป็นการสมดุลระหว่างการเล่นสเกลหรือโซโล่ และคอร์ด เพราะหากเราต้องการไล่สเกลเพื่อเล่นโซโล่ นักกีตาร์สามารถไล่สเกลทั้ง 12 ได้ไม่ยากม...

ทำไม 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 อาทิตย์มี 7 วันและ 1 ปีมี 365 วัน

  การแบ่งวันออกเป็นส่วนย่อยมีมาตั้งแต่อารยธรรมโบราณ ซึ่งในอดีตการนับของมนุษย์ใช้หน่วยย่อยเป็น 12 และ 60 อารยะธรรมอียิปต์ ใช้นาฬิกาแดดแบ่งเวลากลางวันเป็น 10 ส่วน และให้ 1 ส่วนก่อนและหลังพระอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นเวลาเฉพาะต่างหาก ชาวอียิปต์จีงแบ่งกลางวันออกเป็น 12 ส่วนนั่นเอง ต่อมาชาวอียิปต์จึงแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น 12 ส่วนเท่ากับกลางวันโดยอาศัยกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับเวลากลางวัน ทำให้เราแบ่งวันออกเป็น 24 ส่วนสืบต่อมานั่นเอง ซึ่งในอดีตนั้น เวลากลางวันและกลางคืนในแต่ละฤดูจะยาวไม่เท่ากันทำให้ชั่วโมงในตอนกลางวันของฤดูร้อนยาวกว่าชั่วโมงกลางวันของฤดูหนาว เพราะการใช้เลขฐาน 12 และ 60 เป็นที่นิยมสืบต่อมา ภายหลังในยุคกรีก Hipparchus  จึงทำการแบ่ง Ecliptic ออกเป็น 60 ส่วนเรียก minute และแบ่ง minute ออกเป็น 60 ส่วนเรียกว่า second และเขายังเสนอให้แบ่งวันออกเป็น 24 ชั่วโมงเท่าๆกันอีกด้วย อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้ใช้การนับเวลาของ Hipparchus  เนื่องจากไม่เป็นที่นิยม จนภายหลังศตวรรษที่ 14 เมื่อมีนาฬิกากลไกจึงมีการใช้ 24 ชั่วโมงแบบแบ่งเท่า และปรากฎการแบ่งชั่วโมงออกเป็น 60 นาที และ...

ประวัติคณิตศาสตร์อย่างย่อ 50000 ปี

รูปภาพ
  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักปริมาณมากน้อยและแยกปริมาณหนึ่งกับสองได้โดยสัญชาตญาณ แต่ต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะมีการเข้าใจความคิดรวบยอดและใช้คำ สัญลักษณ์เรียกจำนวนสอง หลักฐานการรู้จักการนับจำนวนของมนุษย์มีดังนี้ ราว 44,200 – 43,000 ปีก่อนค.ศ. มนุษย์ได้เริ่มทำสัญลักษณ์การนับจำนวนลงบน  Lebomboo Bone ต่อมาราว 20,000 – 18,000 ปีก่อนค.ศ. มีการบันทึกการนับลงบน  Ishango bone คณิตศาสตร์ยุคสุเมเรียนและบาบิโลเนียน ในดินแดน Mesopotamia ที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Tigris กับ Euphrates มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ชาว Sumerian รู้จักนับเลขเป็นนานกว่า 4,000 ปีแล้ว มีการค้นพบแผ่นดินเหนียวบันทึกตารางผลคูณ อายุ 2,600 ปีก่อนค.ศ. ของชาว สุเมเรียน ตารางผลหาร ตารางรากที่สอง ตารางรากที่สาม ตารางผลยกกำลัง ในอายุไล่เรียงกัน ดังรูป หนึ่งในอารยธรรมคณิตศาสตร์ของชาวสุเมเรียนที่ยังหลงเหลือมายังปัจจุบันคือ การใช้เลขฐาน 60 ซึ่งเรายังใช้แบ่งเวลาหนึ่งชั่วโมงเป็น 60 นาที และ หนึ่งนาทีเป็น 60 วินาที และมุมในวงกลมมี 360 องศานั่นเอง คณิตศาสตร์ยุคบาบิโลน หลังความเสื่อมของชาวสุเมเรียน ผู้ที่เข้ายึดครองดินแดน Mes...